[ ข้อมูล ] เกี่ยวกับรหัสต่างๆของน้ำมันเครื่อง

Joofy · 5518

Offline Joofy

  • เจ้าพ่อห้องเย็น
  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 1,127
ชั้นเกรดคุณภาพน้ำมันเครื่อง สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน

API ได้กำหนดชั้นและเกรดคุณภาพของน้ำมันเครื่อง มีดังนี้

SA - เป็นน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานล้วนๆ ไม่มีการเติมสารเพิ่มคุณภาพเลย ปัจจุบันยกเลิกแล้ว

SB - ประกาศใช้ปี 1930 เพิ่มเพียงสารเพิ่มคุณภาพบางชนิด เช่น สารป้องกันการสึกหรอ สารป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปัจจุบันยกเลิกแล้ว

SC - ประกาศใช้ปี 1964 เพิ่มสารชะล้าง ป้องกันตะกอนและสนิม

SD - ประกาศใช้ปี 1968 เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SC ไม่ควรเลือกใช้ในปัจจุบัน

SE - ประกาศใช้ปี 1972 เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SD ไม่ควรเลือกใช้ในปัจจุบัน

SF - ประกาศใช้ปี 1980 เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SE และเน้นป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนมากขึ้น ไม่ควรเลือกใช้ หากไม่จำเป็น

SG - ประกาศใช้ปี 1988 เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SF เน้นป้องกันการเกิดตะกอนตม-ยางเหนียวเพิ่มขึ้น ลดการเกิดเขม่าบนหัวลูกสูบ-ห้องเผาไหม้ และลดการสึกหรอของวาล์ว ยังพอเลือกใช้ได้ถ้าจำเป็น

SH - ประกาศใช้ปี 1992 เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SG เน้นการลดมลพิษและลดการสึกหรอเพิ่มขึ้น สามารถเลือกใช้ได้

SJ - ประกาศใช้วันที่ 15 ตุลาคม 1996 เป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซินที่มีเกรดคุณภาพสูงสุดในปัจจุบัน เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SH เน้นการระเหยต่ำ ค่าฟอสฟอรัสต่ำ ป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนดีขึ้น มีอายุการใช้งานนานขึ้น
ต้องผ่านการทดสอบพิเศษด้วยมาตรฐานเหนือกว่า API SH อีก 7 ประการ คือ
1. จำกัดปริมาณของฟอสฟอรัส
2. ระดับการระเหยต่ำ
3. ทดสอบการเกิดเขม่าในอุณหภูมิสูง
4. ทดสอบการเกิดโฟมในอุณหภูมิสูง
5. ทดสอบการรวมตัวกับน้ำ
6. การรวมตัวได้ของสารหล่อลื่น
7. ความสามารถในการคงสภาพการหล่อลื่นเมื่ออุณหภูมิต่ำ

น้ำมันเครื่องเกรดคุณภาพ SJ มีคุณสมบัติโดดเด่น คือ
1. ช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์บำบัดไอเสีย (แคตตาลิติก คอนเวอร์เตอร์) เพราะมีการควบคุมปริมาณของฟอสฟอรัสไว้ต่ำมาก
2. ช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
3. ลดการปล่อยมลพิษ
4. คงสภาพทุกช่วงอุณหภูมิได้ดี
5. การใช้น้ำมันเครื่องต่างชนิดต่างรุ่นผสมกันใช้งานด้วยความจำเป็น มีความเสี่ยงต่อการแยกตัวหรือส่งผลลบน้อย

SL - ประกาศใช้ปี 1999 เป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซินที่มีเกรดคุณภาพ เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและโมเลกุลในสารเพิ่มคุณภาพยืดหยุ่นตัวใด้ดีขึ้น เน้นการระเหยต่ำ ค่าฟอสฟอรัสต่ำ ป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนดีขึ้น มีอายุการใช้งานนานขึ้น และเน้นการลดแรงเสียดทานในเครื่องยนต์ เด่นที่สุดในการเลือกใช้

SM - ประกาศใช้ปี 2004 มีคุณสมบัติเหนือกว่า SL อยู่หลายด้าน เป็นน้ำมันเครื่องเกรดสูงสุดที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันกับเครื่องยนต์เบนซิน
==============================================================================
การเลือกความหนืดของน้ำมันเครื่องให้ดูจากคู่มือประจำรถยนต์ แล้วใช้ให้ตรงตามกำหนด โดยเน้นเฉพาะตัวเลขที่ไม่ได้ตามด้วยตัวอักษร W แต่ถ้าไม่มีคู่มือให้เลือกตามนี้ เมืองไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนมาก และไม่มีติดลบ สามารถเลือกใช้น้ำมันเครื่องทั้งแบบเกรดความหนืดเดี่ยวและเกรดความหนืดรวมสำหรับเมืองร้อน โดยสนใจค่าความหนืดเฉพาะค่า SAE ที่ไม่ได้ลงท้ายด้วยตัวอักษร W เป็นความหนืด 40 หรือ 50

เครื่องยนต์ใหม่ สามารถใช้น้ำมันเครื่องความหนืด SAE 30,SAE 40 ใสหน่อยได้ เพราะชิ้นส่วนยังไม่มีช่องว่างห่างมากนัก ส่วนเครื่องยนต์เก่า ควรใช้ความหนืด SAE 50 หรือ หากเลือกใช้เองเป็นความหนืด SAE 40 ให้ดูด้วยว่ามีการ"กินน้ำมันเครื่องมากผิดปกติไหม" (ไม่ควรเกิน 2,000-3,000 กิโลเมตรต่อน้ำมันเครื่อง 0.5-1 ลิตร) และมีควันสีขาวอมฟ้าจากการเผาไหม้น้ำมันเครื่องที่เล็ดลอดเข้าห้องเผาไหม้ผสมออกมากับไอเสียหรือไม่ ถ้าผิดปกติให้เปลี่ยนไปใช้ความหนืด SAE 50

สำหรับ กำหนดการเปลี่ยนถ่าย น้ำมันเครื่องชั้นคุณภาพ API SJ,SLและSM เกิน 10,000 KM.ขึ้นไปครับ
เพราะผมเคยเอาน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วเหล่านี้ไปตรวจคุณภาพ ที่ห้องปฎิบัติการ บริษัท เมโทร แคท
(ประเทศไทย)จำกัด ผลปรากฎว่า ความยืดหยุ่นของโมเลกุลความหนืดยังเป็นปรกติ แต่จำนวนฝุ่นคาร์บอนที่น้ำมันเครื่องดูดซับมามีมีจำนวนมากแต่ก็จะไปค้างอยู่ที่กรอง บ่งบอกถึงการสันดาปที่ไม่
สมบูรณ์ ส่วนเศษโลหะที่เกิดจากการสึกหรอของเครื่องยนต์มีไม่มากอยู่ในเกรณ์ปรกติ ปริมาณฟองอากาศแทบไม่มีเลย แสดงว่าจากตัวอย่างน้ำมันที่นำไปทดสอบ ยังสามารถใช้งานได้ตามปรกติ ยังสามารถปกป้องการสึกหรอ ระบายความร้อน ต่อต้านการรวมกับออกซิเจนและยังใช้ได้โดยไม่ต้อง
เปลี่ยบถ่ายทิ้ง ช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศ ลดมลพิษ และรักษาสิ่งแวดล้อมครับ
===================================================================
ในช่วง 3-4 วันมานี้ ผมได้รับโทรศัพท์สอบถามและขอความเห็น เรื่องน้ำมันเครื่องที่เหมาะสมใช้กับรถ LPG

ผมขอแบ่งประเด็น ที่ถามมาดังนี้

ก.)ใช้น้ำมันเครื่องเกรดไหนดี?
ในปัจจุบัน โดยจากมาตฐาน API-AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE และ SAE - SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS ซึ่งเป็นที่นิยมใช้เป็นแหล่งอ้างอิง
ใช้เกรด API SJ, API SL และ API SM ส่วนค่าความหนืดใช้ SAE 40 จะเป็นเกรดเดี่ยวหรือเกรดรวมก็ได้
แต่ถ้าในกรณีเครื่องยนต์เริ่มหลวม(กินน้ำมันเครื่องมากกว่า 1 ลิตร/4,000 กม.)มีควันจากปลายท่อไอเสียสีขวาอมฟ้า แนะนำให้ใช้ SAE 50
----ตัวเลขตัวหน้าเช่น 0W40, 10W40, 20W50 ตัวเลข 0 เลข 10 เลข 20 บอกถึงอุณหภูมิแวดล้อมเครื่องยนต์ เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน อุณหภูมิไม่เคยติดลบถึง -18 องศา C จึงไม่ต้องให้ความสำคัญมากนัก ให้ดูที่ตัวเลข 40 และ 50 ตัวหลังดีกว่าครับ เพราะอุณหภมิปรกติอยู่ที่ 30C' ถึง 40C' จึงเหมาะที่จะใช้ SAE 40 หรือ SAE 50 ดังที่ได้กล่าวมาแล้วครับ

ข.)ควรเปลี่ยนถ่ายเมื่อไร?
เปลี่ยนถ่ายเมื่อน้ำมันเครื่องเริ่มสูญเสียคุณสมบัติหลัก เช่น เกิดฟองอากาศในน้ำมันเครื่องอย่างถาวร ความหนืดลดลงจากปรกติที่เคยมี เกิดสารแขวนลอยในเนื้อน้ำมัน เกิดฟอสฟอรัสจากการสันดาป ฯลฯตามที่ได้กล่าวมานี้ น้ำมันเครื่องเกรด API SJ ที่ประกาศใช้ตั้งแต่ ปี คศ.1996 มีคุณสมบัติทานทนต่อความเสื่อมเหล่านี้ ได้มากกว่า 10,000 กม. สำหรับเกรดที่สูงกว่า เช่น API SL ประกาศใช้ ปี คศ.1999 และ API SM ประกาศใช้ ปี คศ. 2004 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าเกรดคุณภาพ API ยิ่งเป็นปัจจุบันมากขึ้น
เกรดคุณภาพก็จะสูงขึ้น ระยะเวลาการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันก็เพิ่มมากขึ้น

ค.)ทำไมเครื่องยนต์ที่ใช้ LPG เป็นเชื้อเพลิงจึงมีระยะเปลี่ยนถ่ายยาวนานกว่า
เนื่องจากเชื้อเพลิง LPG มีการสันดาปที่สมบูรณ์กว่า สิ่งสกปรกที่เกิดจากการเผาไหม้จึงกว่า แม้กระทั้งฝุ่นคาร์บอนที่ปนเปื่อนมาจากการชะล้างยังน้อยกว่า LPGอยู่ในสภาพก็าซจึงไม่ไปทำละลายสารเครือบหล่อลื่นที่มากับน้ำมันเครื่อง ทำให้ลดการสึกหรอ เช่น แหวน ผิวกระบอกสูบ แบริ่งต่างๆ เป็นต้น

=================================================================================
API SM คุณภาพสูงสุดน้ำมันเครื่องสำหรับเบนซิน

ผู้จัดการออนไลน์ 7 กุมภาพันธ์ 2548 12:01 น. โดย วรพล สิงห์เขียวพงษ์


ปลายปี 2004 API สถาบันใหญ่ด้านปิโตรเลียมในสหรัฐอเมริกา ประกาศรับรองคุณภาพสูงสุดน้ำมันเครื่องเบนซินเกรดใหม่ SM แค่ช่วงไม่กี่สิบวันแรก มีบริษัทน้ำมันเครื่องขอการรับรองแล้วกว่า 400 ราย ที่สำคัญ...มีบริษัทน้ำมันเครื่องของไทยรวมอยู่ด้วย

พร้อมกับลบความเข้าใจผิดเรื่องสัญลักษณ์วงกลม DONUT และตัวอักษร API บนกระป๋องน้ำมันเครื่องที่หลายคนคิดว่าต้องส่งน้ำมันเครื่องไปและผ่านการทดสอบอย่างละเอียดโดย API ทั้งที่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น!

เกรดคุณภาพน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน หากอ้างอิงตาม API ซึ่งเข้าใจได้ง่าย ก็คือ นำหน้าด้วยตัว S เสมอ ตามด้วยตัวอักษรที่ยิ่งไกลจาก A เท่าไร ก็ยิ่งมีคุณภาพดี ไล่จาก SA SB SC SD SE SF SG SH SJ SL ข้าม SI SK ไปโดยไม่บอกเหตุผล ล่าสุดเพิ่งออก SM

การเลือกใช้น้ำมันเครื่อง ควรใช้ระดับใกล้สูงสุดไว้ ในปัจจุบันแนะนำ SM SL SJ ส่วนเกรดต่ำกว่านั้น ไม่น่าสนใจแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องสูงสุดเสมอไปใกล้ๆไว้เป็นพอ และถึงจะเป็นน้ำมันเครื่องธรรมดาก็ใช้ได้ถึง 10,000 กิโลเมตร ถ้าเป็นสังเคราะห์ก็ทนได้ถึง 15,000-20,000 กิโลเมตร API หรือ AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE จะมีการประกาศรับรองน้ำมันเครื่องเกรดคุณภาพสูงสุดมาตรฐานใหม่ทุกประมาณ 3-5 ปี

ล่าสุดเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2004 คือ API SM สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน โดยระบุคร่าวๆ ว่าดีขึ้นจากเกรดคุณภาพ SL คือปรับปรุงเรื่องต่อต้านการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน, ปรับปรุงเรื่องป้องกันการเกิดตะกอน, เพิ่มการปกป้องความสึกหรอ, พัฒนาให้ทำงานได้ดีตั้งแต่อุณหภูมิต่ำ และคงประสิทธิภาพที่ดีตลอดอายุการใช้งาน

เพียงช่วงแรกที่ประกาศ API SM ก็มีบริษัทน้ำมันเครื่องได้การรับรองไปแล้วกว่า 400 ราย 1 ในนั้น คือ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) น้ำมันเครื่อง PTT PERFORMA SUPER SYNTHETIC เกรดความหนืด 0W-40 และทราบมาว่าอีกหลายยี่ห้อก็กำลังดำเนินการและเตรียมออกสู่ตลาดไทยในปีนี้

บริษัทน้ำมันเครื่องส่วนใหญ่มีเทคโนโลยีใกล้เคียงกัน ดังนั้นการผลิตน้ำมันเครื่องให้มีคุณภาพตามต้องการ
หรือให้ผ่านมาตรฐานการรับรองโดยสถาบันที่ได้รับความเชื่อถืออย่าง API จึงไม่ใช่เรื่องเกินความสามารถ ประเทศเล็กๆ อย่างไทยก็ทำได้ทัดเทียมต่างชาติ

สิ่งที่ยากกว่า คือ การสร้างความเชื่อถือให้ผู้บริโภค เพราะแม้น้ำมันเครื่องจะมีคุณภาพทุกด้านเกือบเหมือนกัน
มีต้นทุนการผลิตใกล้เคียงกัน แต่ยี่ห้อที่สร้างภาพพจน์ได้ดี จะสามารถตั้งราคาได้แพงกว่า ที่แปลกก็คือ น้ำมันเครื่องระดับคุณภาพเดียวกัน ยี่ห้อที่ไม่ดังและขายถูกกว่า (เพราะต้นทุนจริงไม่แพง และไม่ได้ปั่นราคา) มักถูกมองในแง่ลบว่าด้อยคุณภาพ หลายคนไม่กล้าซื้อใช้ เพราะกลัวใส่แล้วเครื่องโทรมหรือเครื่องพัง

ลบความเชื่อผิดๆ เรื่อง API และ DONUT

หลายคนคิดว่า น้ำมันเครื่องมีมีตราวงกลมคล้ายโดนัท นั่นคือ ได้ส่งน้ำมันตัวอย่างไปให้ API ทดสอบ และผลต้องผ่าน ในเนื้อน้ำมันเดียวกันกับที่ขาย ในความเป็นจริงกลับไม่ใช่ และไม่ได้ส่งเนื้อน้ำมันไปทดสอบ เพราะเป็นแค่การขอการรับรอง โดยกรอกรายละเอียด และเหมือนผู้ผลิตหรือจำหน่ายน้ำมันนั้น เป็นการรับรองตัวเอง พร้อมเสียค่าธรรมเนียมให้ API โดยไม่ได้ส่งเนื้อน้ำมันให้ API ทดสอบแต่อย่างไร

ส่วนน้ำมันเครื่องที่ไม่ได้มีตราโดนัทข้างกระป๋อง แต่ระบุเกรดคุณภาพเป็นตัวย่อตาม API ถึงจะไม่ได้ขอการรับรองไป แต่ก็เทียบเกรดเองได้ ไม่ว่าน้ำมันเครื่องนั้นจะได้รับตราโดนัทหรือไม่ ก็มีแค่ความเชื่อใจต่อผู้ผลิตหรือจำหน่ายเท่านั้นว่า เนื้อน้ำมันในกระป๋องที่ขายออกมา จะมีคุณภาพตรงตามที่ระบุไว้

น้ำมันเครื่องที่ขาย = น้ำมันพื้นฐาน + สารเพิ่มคุณภาพ

หลายคุณสมบัติพิเศษสำคัญๆ ของน้ำมันเครื่อง ไม่ได้มาจากน้ำมันพื้นฐานหรือ BASE OIL (MINERAL OIL, PAO-POLYALPHAOLEFIN หรือ HYDROCRACK) และขบวนการผลิตเท่านั้น แต่ต้องมีการผสมสารเพิ่มคุณภาพหรือ ADITIVE ลงไปด้วย

ในอุตสาหกรรมน้ำมันหล่อลื่น มีผู้ผลิต BASE OIL และ ADITIVE เพียงไม่กี่ราย (รายใหญ่ของการขาย ADDITIVE ไม่ถึง 10 รายเท่านั้น) โดยเฉพาะผู้ผลิต ADDITIVE รายใหญ่ๆ ล้วนต้องทดลองผสม ทดสอบเอง และส่ง API ทดสอบมาแล้วว่าถ้านำ BASE OIL ชนิดไหน มาผสมกับ ADITIVE ตัวใด (ใช้หลายตัว) แล้วจะได้น้ำมันเครื่องเกรดคุณภาพและเกรดความหนืดใด

เนื่องจากผู้ผลิต ADDITIVE รายใหญ่ๆ ล้วนมีการทดสอบด้วยตัวเอง และส่งตัวอย่างน้ำมันเครื่องให้ API และสถาบันอื่นๆ ทดสอบอย่างละเอียดแล้ว ทั้งในห้องแล็บและการใช้งานจริง ซึ่งต้องใช้น้ำมันเครื่องจำนวนมหาศาล ใช้เวลานาน และมีค่าใช้จ่ายสูงหลายแสนหรือนับล้านบาท เมื่อทดสอบครบทุกขั้นตอนแล้วจึงกำหนดว่า น้ำมันเครื่องนั้นมีเกรดคุณภาพระดับใด

ดังนั้นเมื่อจะขายสารเพิ่มคุณภาพออกมา ก็เหมือนมีสูตรสำเร็จว่า ถ้าซื้อสารตัวใดนำไปผสมตามกำหนดกับน้ำมันพื้นฐานชนิดใด แล้วจะได้เกรดคุณภาพตาม API เป็นอะไร โดยไม่ต้องทดสอบซ้ำอีกแล้ว

มาตรฐานการแบ่งเกรดคุณภาพน้ำมันเครื่อง ไม่ได้มีแต่ของ API เพียงรายเดียว และ API เองก็มีการอ้างอิงจากแหล่งอื่นด้วย จึงเหมือนเป็นข้อตกลงของหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น อุตสาหกรรมน้ำมันหล่อลื่น, บริษัทผลิตยานยนต์และเครื่องยนต์ ประกอบด้วย ฟอร์ด เจนเนอรัล มอเตอร์ส และเดมเลอร์ไครสเลอร์, สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่น JAMA, และสมาคมผู้ผลิตเครื่องยนต์

ประสิทธิภาพที่ต้องการจากน้ำมันเครื่อง, ขั้นตอนการทดสอบ และข้อจำกัด เป็นการร่วมกันจัดตั้งโดยผู้ผลิตยานยนต์และเครื่องยนต์, สมาคมเทคนิค THE SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS (SAE), THE AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS (ASTM), ชมรมอุตสาหกรรม THE AMERICAN CHEMISTRY COUNCIL รวมทั้ง API

ในเมื่อผู้ผลิต BASE OIL และ ADITIVE ซึ่งมีเพียงไม่กี่ราย ได้ผสมน้ำมันเครื่องหลายร้อยสูตร ทดสอบอย่างละเอียด แบ่งเป็นคุณภาพและคุณสมบัติต่างๆ ไว้แล้ว

บริษัทน้ำมันเครื่องที่จำผสมออกขาย ก็เพียงเลือกว่าจะทำตลาดด้วยน้ำมันเครื่องชนิดใดและเกรดคุณภาพใด จากนั้นก็สั่งซื้อ BASE OIL กับ ADITIVE ตามสเปค มาผสมและจำหน่ายในยี่ห้อของตนเอง ไม่ต้องทดสอบซ้ำ ก็พอจะเชื่อได้ว่าได้มาตรฐานตามที่เลือกไว้ ซึ่งต้องเชื่อใจผู้ขาย BASE OIL กับ ADITIVE ว่าจะไม่ตุกติกด้วย

หากต้องการให้ API รับรอง (มีสัญลักษณ์ DONUT STARBURST และ API) ก็เพียงกรอกแบบฟอร์มยืนยันส่วนผสมต่างๆ ของน้ำมันเครื่องนั้นส่งให้ API ไม่ต้องส่งตัวอย่างน้ำมันเครื่องให้ เพราะเหมือนทดสอบซ้ำ สิ้นเปลืองทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้ง API ก็ไม่มีเวลาทดสอบได้ครบทุกยี่ห้อ

แบบฟอร์มขอการรับรองจาก API เปรียบเสมือนสัญญารับรองตนเองของผู้ผลิตหรือจำหน่ายน้ำมันเครื่อง ว่าน้ำมันเครื่องมีคุณสมบัติตรงตามที่ให้ข้อมูลไว้จริง โดย API จะมีการสุ่มตรวจเป็นบางรายในภายหลัง ซึ่งก็แทบไม่พบว่ามีการสุ่มตรวจ เพราะมีกว่าร้อยประเทศและมีน้ำมันเครื่องหลายพันรุ่นในโลกที่ขอการรับรอง เทคโนโลยีของน้ำมันเครื่อง มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีเกรดคุณภาพใหม่ๆ กำหนดขึ้นทุก 3-5 ปี เราไล่ตามหาความรู้ได้ไม่ยาก...ถ้าสนใจ ! และไม่จำเป็นต้องรู้ลึก
============================================================================
เรียนคุณ ต๊อดต่อ
คำถามของคุณต๊อดต่อ ดีมากครับ แต่รายละเอียดเยอะมาก ผมขอตอบสั้นๆพอเข้าใจ
1.น้ำมันเกียร์ธรรมดา มีอยู่ 3 เกรด
1.1 เกรดเดี่ยว SAE 40 ใช้กับ ISUZU เกรดคุณภาพ API SJ API SJ ขึ้นไปถึง API SM เปลี่ยนถ่ายที่ 40,000 กม.หรือมากกว่า
1.2 เกรดเดี่ยว SAE 90 ใช้กับเกียร์ธรรมดาทั่วไปเ กรดคุณภาพ API SJ ขึ้นไปถึง API SM เปลี่ยนถ่ายที่ 40,000 กม.หรือมากกว่า
1.3 เกรดรวม Synthetics SAE 75-90 ใช้กับเกียร์ธรรมดาทั่วไปเ กรดคุณภาพ API SJ ขึ้นไปถึง API SM เปลี่ยนถ่ายที่ 100,000 กม.
2.เกียร์ออโต้ อันนี้ตอบลำบาก เพราะน้ำมันเกียร์ออโต้จะเสื่อมหรือไม่จะแปรผันไปตามความร้อนเกิน(Over heating)ของเครื่องยนต์ และ ควรจะเป็นไปตาม แต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น เช่น Mitsubishi CVT ต้องเปลี่ยบตามคู่มือ, Honda CVT ต้องเปลี่ยบตามคู่มือ, Jaguar ต้องเปลี่ยบตามคู่มือ, Volvo ปี 89-93 ใช้ Dextron II D, Mercedes Benz แต่ละรุ่น แต่ละปี ใช้ไม่เหมือนกัน และฯลฯ รายละเอียดมีมากเหลือเกินครับ บรรยายไม่หมด แต่ที่แน่ๆ ขอให้อ่านคู่มือประจำรถครับ ชัวร์ที่สุด
3.น้ำมันเบรค ปรกติผมจะเปลี่ยนทุกก่อนหน้าฝน หรือทดสอบความชื้นในน้ำมันเบรคถ้าเกินกว่ากำหนดก็ควรเปลี่ยนครับ(ตามอู่มาตฐานมีอุปกรณ์ทดสอบครับ)
4.น้ำมันคลัตช์ 60,000 กม.ขึ้นไป
=============================================================================
รวมความเข้าใจผิดเรื่องน้ำมันเครื่อง
โดย ผู้จัดการออนไลน์ วรพล สิงห์เขียวพงษ์

น้ำมันเครื่องมีความสำคัญต่อความทนทานและกำลังของเครื่องยนต์ จำเป็นต้องมีการเลือกและใช้อย่างมีหลักการ แต่หลายคนยังมีความเข้าใจผิด
บทความนี้รวบรวมความเข้าใจผิดเรื่องน้ำมันเครื่อง

-เน้นแค่ยี่ห้อดัง
หลายคนซื้อน้ำมันเครื่องโดยเน้นเลือกยี่ห้อเดียวกับที่มีปั๊มน้ำมัน
เพราะคิดว่าจะมีคุณภาพดี ตามความโด่งดังของยี่ห้อ ทั้งที่ในยี่ห้อเดียวก็มีให้เลือกหลายระดับคุณภาพ
ความจริงแล้วมีน้ำมันเครื่องคุณภาพดีอีกนับสิบยี่ห้อ ที่ไม่มีปั๊ม น้ำมันในไทย และจำหน่ายในราคาไม่แพง
ไม่ควรเห็นแค่ยี่ห้อแล้วเลือกใช้ ต้องดูที่เกรดคุณภาพตามมาตรฐานของ API (www.api.org) ในสหรัฐอเมริกา ที่ระบุไว้ข้างกระป๋อง จำไม่ยากเลย เครื่องยนต์เบนซิน เกรดคุณภาพสูงสุด API SL รองลงมาคือ SJ SH SG ตามลำดับ
ปัจจุบันนี้ API SL และ SJ น่าใช้ที่สุด ส่วนเครื่องยนต์ดีเซล เกรดคุณภาพสูงสุด API CI-4 รองลงมาคือ CH-4 CG CF ตามลำดับ ปัจจุบันนี้ API CI-4 และ CH-4 น่าใช้ที่สุด
น้ำมันเครื่องยิ่งมีเกรดคุณภาพต่ำ ก็ยิ่งมีราคาถูก และลดการปกป้องเครื่องยนต์ลงไป ควรเลือกเกรดคุณภาพอย่างน้อยรองจากสูงสุด
นอกจากนั้นยังต้องดูความหนืดตามมาตรฐานของ SAE (www. sae.org) สหรัฐอเมริกา ว่าเลข 2 ตัวท้าย เช่น 30 40 หรือ 50 ตรงตามการแนะนำในคู่มือประจำรถหรือไม่ โดยไม่ต้องสนใจตัวเลขหน้า W เพราะนั่นเป็นค่าที่ได้การวัดความหนืดที่18 องศาเซลเซียสไม่ใช่สภาพของไทย
ชนิดของน้ำมันเครื่องก็ต้องสนใจ ธรรมดา กึ่งสังเคราะห์ และสังเคราะห์ ดีจากน้อยมามากตามลำดับ
เลือกยี่ห้ออย่างเดียวไม่ได้ ต้องเลือกเกรดคุณภาพ ระดับความหนืด และชนิด ให้ครบครัน

-ดูแค่ข้างกระป๋องว่า เบนซิน/ดีเซล
ข้างกระป๋องน้ำมันเครื่องหลายยี่ห้อหลายรุ่น นอกจากจะระบุรายละเอียดอื่นๆ ข้างต้นไว้ครบครันแล้ว ก็อาจจะมีประโยคบอกเพิ่มว่า เหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล หรือเหมาะทั้ง 2 อย่างเลย หลายคนเห็นประโยคนั้นก็เลือกใช้ โดยไม่ได้สนใจดูว่ามีเกรดคุณภาพตาม API เป็นอย่างไร
จริงๆ แล้ว ไม่ต้องระบุเพิ่มก็ได้ เพราะเกรดคุณภาพตามท้ายตัวย่อ API ก็มีระบุไว้อยู่แล้วว่าใช้กับเครื่องยนต์ประเภทใดได้ดีเพียงไร และบางครั้งระบุว่าเหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน แต่มีมาตรฐานแค่ API SH ห่างจากมาตรฐานสูงสุดตั้ง 2 ระดับก็ยังมี

-หมดสภาพเพราะดำ หรือนิ้วแตะ
น้ำมันเครื่องที่ดำ อาจเป็นเพราะมีสารชะล้างที่ดี หรือภายในเครื่องยนต์สกปรก และเมื่อดำแล้ว คุณสมบัติอื่นๆ เช่น การหล่อลื่น การลดความร้อน รวมถึงการชะล้างเอง อาจไม่ได้หมดลงตามสีที่เปลี่ยนไป
บางคนใช้นิ้วแตะๆ น้ำมันเครื่องจากก้านวัด แล้วตัดสินว่าหมดอายุ หรือยัง ในความเป็นจริง หากจะทราบว่าน้ำมันเครื่องหมดอายุหรือยัง จะต้องนำน้ำมันเครื่องนั้นเข้าห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ ไม่งั้นก็ต้องตัดสินจากระยะทางหรืออายุที่ใช้งานตามที่ปฏิบัติกัน จะเดาจากสีหรือความเหนียวหลังจากแตะกับปลายนิ้วไม่ได้

-กลัวปลอม ซื้อในปั๊ม
มีคำถามคาใจว่า ดูน้ำมันเครื่องปลอมได้อย่างไร? คำตอบก็คือ ตัวเนื้อน้ำมันเครื่องต้องส่งเข้าห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น จะชิม ดม แตะไม่ได้
นอกนั้นต้องดูที่ตัวกระป๋องว่ามีสภาพปกติ มีสีสันปกติ รวมถึงฝาปิดมีการซีลตามที่คุ้นเคยหรือไม่
แน่นอนว่ามีน้ำมันเครื่องปลอมอยู่ในตลาดอยู่ไม่น้อย จึงต้องระวัง แต่ถ้าจะซื้อตามปั๊มเท่านั้นก็จะมีราคาแพง เสียโอกาสเลือกน้ำมันเครื่องตาม ร้านทั่วไป ที่มีสารพัดยี่ห้อ และก็ไม่ได้ปลอมไปทั้งหมด

-ต้องเต็มขีดบนเสมอ
หลายคนเน้นว่าเครื่องยนต์ต้องมีน้ำมันเครื่องเต็มขีดบนเสมอ ในความเป็นจริง เครื่องยนต์จะสามารถทำงานได้ปกติ หากระดับน้ำมันเครื่อง อยู่ในช่วงขีดบนและล่าง ไม่จำเป็นต้องเต็มขีดบนเท่านั้น
ถ้าเติมครั้งใหม่ เติมให้เต็มขีดบนก็ดี แต่ถ้าผ่านการใช้งานมาแล้ว อีกไม่นานจะครบกำหนดเปลี่ยน และน้ำมันพร่องลงไปบ้าง หากยังไม่ต่ำกว่าขีดล่างสุด ก็ไม่จำเป็นต้องเติมเพิ่มให้สิ้นเปลือง
ยกเว้นกรณีขึ้นลงทางลาดชันมากบ่อยๆ น้ำมันเครื่องควรเต็มขีดบนอยู่เสมอ เพราะผิวน้ำมันจะเอียงไม่ได้ระดับขนานกับขอบอ่างน้ำมันเครื่องอยู่เสมอ

-เปลี่ยนบ่อยไว้ก่อน
น้ำมันเครื่องยุคใหม่มีคุณภาพและความทนทานขึ้น แต่หลายคนยังเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามกำหนดดั้งเดิม 3,000-5,000 กิโลเมตร ด้วยแนวคิดปลอดภัยไว้ก่อน ห่วงเครื่องยนต์ แต่เปลืองเงินไม่สน สบายใจเข้าว่า
ในความเป็นจริง น้ำมันเครื่องทุกชนิด ไม่เฉพาะแต่สังเคราะห์ ถ้าเป็นเกรดคุณภาพตาม API 2-3 ระดับสูงๆ สามารถใช้งานได้เป็นระยะทาง 10,000 กิโลเมตร หรือถ้าการจราจรติดขัดมาก รวมถึงมีฝุ่นในเส้นทางเยอะ ก็ค่อยลดระยะทางลงมาจากเดิมสัก 1,000-2,000 กิโลเมตร
การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเร็วเกินไป นอกจากสิ้นเปลืองเงินแล้วยังเป็น การเพิ่มขยะพิษให้กับโลกอีกด้วย แม้จะมีการนำน้ำมันเครื่องเก่าไปรีไซเคิล กับงานอื่น แต่สำหรับในไทย ต้องถือว่าการป้องกันน้ำมันเครื่องเก่าไม่ให้กระจายสู่ธรรมชาติเป็นไปอย่างไม่รัดกุมเลย

-น้ำมันราคาถูก เปลี่ยนเร็ว
หลายคนคิดว่า เสียเงินน้อยซื้อน้ำมันราคาถูก แล้วเปลี่ยนบ่อยๆ จะดีกว่า ในความเป็นจริง การสึกหรอจะเกิดขึ้นได้ทันทีที่เครื่องยนต์ทำงาน เมื่อน้ำมันเครื่องนั้นไหลเวียนในครั้งแรกและตลอดไปจนกว่าจะถ่ายออก ถ้าฝืดก็ฝืดไปตลอด ถ้าลื่นก็ลื่นไปตลอด
ดังนั้นเสียเงินซื้อน้ำมันเครื่องคุณภาพสูงราคาแพงสักหน่อย แต่ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยให้เสียเวลาจะดีกว่า

-รถไม่แพง ใช้น้ำมันเครื่องราคาถูกหรือคุณภาพต่ำ
ถ้าเครื่องยนต์ปกติดี ไม่กินน้ำมันเครื่อง จะเป็นรถราคาแพงถูก-แพง เก่า-ใหม่ ก็ควรใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพดี และเปลี่ยนตามกำหนดที่เหมาะสม เครื่องยนต์จะได้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและทนทาน
ความเข้าใจผิดถูกลบล้างได้ด้วยการหาความรู้เพิ่มเติม และคิดทบทวนด้วยหลักวิทยาศาสตร์


ข้อความก๊อปปี้นะครับ..เครดิต ท่าน A-JOY เวป แลนเซอร์คลับ นะครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดี...
« Last Edit: 19 Feb 2010, 02:38 by kamolwat_t »



www.opel.in.th

www.dekgayray.com

www.phuntana.Hi5.com

phuntana@hotmail.com

Mobis : 081-0202-400


Offline jeabjamiro

  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 8,623
  • ผมมันเสือ ไม่ใช่เซียน เหอะๆ
  • No.: in 05
  • รุ่นรถ: ASTRA VAN
  • สีรถ : ขาวโบ๊ะ
  • เครื่องยนต์: x20xev AT------เครื่องตัดหญ้า
ขอบคุณมากๆเลยครับพี่จุ๊บๆๆ อย่าลืมอ่าน PM ที่ผมส่งไปด้วยยยครับ

หน้าไม่ให้แต่ใจพระครับ
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม และวาระ เฮ้อ.....แต่กว่าจะถึงวันนั้นคนดีต้องเจ็บกันอีกเยะ เหอะๆ
jeabjaMIro : OPEL ASTRA VAN 8V 1.6 GL 1993
                   : FIAT 850 SPORT COUPE'


Offline Mr.T

  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 2,078
  • รุ่นรถ: Astra Caravan
  • สีรถ : Blond
  • เครื่องยนต์: X20XEV
ขอบคุณครับพี่ ผมก็ใกล้จะเปลี่ยนแล้วกำลังดูอยู่ว่าจะเปลี่ยนตัวไหนดี :)



www.opel.in.th

089-7015533


Offline jeabjamiro

  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 8,623
  • ผมมันเสือ ไม่ใช่เซียน เหอะๆ
  • No.: in 05
  • รุ่นรถ: ASTRA VAN
  • สีรถ : ขาวโบ๊ะ
  • เครื่องยนต์: x20xev AT------เครื่องตัดหญ้า
ZIC ไหมดีนะ ขอบอกเหอะๆ
http://www.opel.in.th/index.php/topic,3657.0.html

หน้าไม่ให้แต่ใจพระครับ
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม และวาระ เฮ้อ.....แต่กว่าจะถึงวันนั้นคนดีต้องเจ็บกันอีกเยะ เหอะๆ
jeabjaMIro : OPEL ASTRA VAN 8V 1.6 GL 1993
                   : FIAT 850 SPORT COUPE'


 





Opel Vauxhall Corsa B Astra Vectra B Omega Kadett Kapitan Olympia C14NZ C12NZ X14XE X16XE X16XEL X18XE X18XE1 X20XEV Z22SE C20NE C20SE C20XE C2OLET X25XE C25XE X30XE imcher stiemetz zifira


รถยนต์ ขับรถ Opel in Thai โอเปิล อิน ไทย สนาม ซ่อม แต่ง คลับ club love lover modify talk host server online network game เกมส์ colocation co-location ล้อ ยาง ช่วงล่าง เครื่อง