OPEL in : The Happiest Opel Family in Thailand

Opel in Talks => General Discussion => Topic started by: finn-first on 27 Dec 2011, 17:45

Title: ++ ว่าด้วยเรื่องของเซ็นเซอร์ ++
Post by: finn-first on 27 Dec 2011, 17:45

เริ่มแรกด้วย คอร์ซ่า C14NZ ก่อนน่ะครับ

วาวควบคุมรอบเดินเบา (IDLE AIR CONTROL VALVE)
หน้าที่ของ IAC คืออะไร
     1.ควบคุมความเร็วรอบความเร็วรถยนต์ที่ความเร็วรอบเดินเบา เพื่อป้องกันรอบเครื่องยนต์ลดลงในขณะเปลี่ยนแปลงภาระ
     2.ควบคุมสภาวะการอุ่นเครื่องยนต์
     3.ลดอาการสะท้านที่เกิดจากลิ้นปีกผีเสื้อ
     4.จ่ายอากาศเพิ่ม ในขณะที่ปล่อยคันเร่ง (เบาดับ) เพื่อลดมลพิษของ HC และ CO
     5.เมื่อปิดสวิทกุญแจ ECM หรือ กล่องคอนโทลนั่นแหละ จะสั่งให้มอเตอร์ของ IAC ปรับตัวไปอยู่ในตำแหน่งสตาร์ทครั้ง 
       ต่อไปขึ้นอยู่กับอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น  ( 2 ตัวนี้จะทำงานร่วมกัน  )
มอเตอร์ควบคุมรอบเดินเบาจะติดอยู่กับเรือนปีกผีเสื้อทำหน้าที่ควบคุมให้อากาศลัดทางผ่านลิ้นปีกผีเสื้อ ถ้าความเร็วรอบต่ำกว่าที่กำหนดอากาศที่ไหลผ่านจะมากขึ้นเพื่อเพิ่มความเร็วรอบเครื่องยนต์ แต่ถ้าความเร็วรอบสุงกว่าที่กำหนดอากาศที่ไหลผ่านจะลดลงเพื่อลดความเร็วรอบเครื่องยนตื
มอเตอร์ IAC จะสามารถทำให้เกิดตำแหน่งที่แตกต่างกัน 255 ตำแหน่งหรือสเต็บในการทำงาน จากตำแหน่งศูนย์ คือตำแหน่งที่เดือยยีดตัวออกสุดโดยปิดกั้นไม่ให้อากาศผ่านได้และไม่มีอากาศใหลลัดทางผ่านลิ้นปีกผีเสื้อ เมื่อมอเตอร์หดตัวเข้าสุดอากาศจะใหลลัดทางผ่านลิ้นปีกผีเสื้อได้มากที่สุด
ECM จะรับรู้ทุกๆสเต็บในการยืดตัวหรือหดเข้าของเดือยจากตำแหน่งศูนย์ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานและรถวิ่งด้วยความเร็วประมาณ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะสั่งให้มอเตอร์ยืดตัวออกที่ 255 สเต็บจากตำแหน่งใดๆก็ตาม
 ECM จะได้รับการเตือนจากแรงเคลื่อนเบตเตอรี่ ถ้าแรงเคลื่อนต่ำกว่า 9 โวลต์หรือสูงกว่า 17 โวลต์ ECM จะไม่สั่งให้มอเตอร์เคลื่อนตัว เพราะว่า IAC จะไม่สามารถทำงานได้ตามปรกติ
ในขณะเดินเบา IAC จะถูกคำนวณด้วย ECM โดยขึ้นอยู่กับสัญญาณอินพุทของจานจ่าย แรงเคลื่อนของแบตเตอรี่และอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น ถ้าความเร็วรอบตกลงต่ำกว่าปรกติและลิ้นปีกผีเสื้อปิด เซ็นเซอร์ของ ECM จะอยู่ในสภาวะที่ใกล้จะสูญเสียความเร็วรอบ ECM จะคำนวณตำแหน่งพื้นฐานที่ต้องการของมอเตอร์ด้วยความดันอากาศในท่อร่วมไอดีเพื่อป้องกันการสูญเสียความเร็วรอบ STALL SAVER
THROTTLE CRANK MODE จะอธิบายให้ฟังคราวหน้าน่ะคร้าบ
Title: Re: ++ ว่าด้วยเรื่องของเซ็นเซอร์ ++
Post by: มือใหม่corsa on 27 Dec 2011, 20:09
 :lovelove :lovelove :lovelove
Title: Re: ++ ว่าด้วยเรื่องของเซ็นเซอร์ ++
Post by: chai3392 on 28 Dec 2011, 00:01
การทำงานของ TPS ด้วยคับ
(โมดุลย์กะคอล์ย คงหลังปีใหม่แล้วละครับถึงจะได้เอาไปคืน ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
Title: Re: ++ ว่าด้วยเรื่องของเซ็นเซอร์ ++
Post by: jeabjamiro on 29 Dec 2011, 11:54
 ;D จะมาขายอะไรเปล่าเนี้น น้า  ;D

จะโดยกระโดถีบไหมเนี่ย ตู
 :-[
Title: Re: ++ ว่าด้วยเรื่องของเซ็นเซอร์ ++
Post by: หนานมา on 29 Dec 2011, 17:29
 8) แจ่มเลยครับนายช่าง.... 8)
Title: Re: ++ ว่าด้วยเรื่องของเซ็นเซอร์ ++
Post by: แบงก์ on 30 Dec 2011, 09:12
รออ่านเรื่องต่อไปนะครับเพ่ :D
Title: Re: ++ ว่าด้วยเรื่องของเซ็นเซอร์ ++
Post by: bigpom19 on 30 Dec 2011, 19:49
รออ่านเหมือนกัน ครับ เบาดับไปแล้ว ไม่ค่อยได้เอาออกไปขับแล้ว อันตรายนะครับ

ที่แรก เลี้ยวแล้วดับ เปิดแอร์ก็ชดเชยรอบตามปกติ หลังจากนั้น ถอนคันเร่ง เหยีบเบรคก็เบาดับ ตอนนี้ลองเปิดแอร์รอบกระชากดับ
เซ็นเซอร์น่าจะเสีย  แล้วอะครับ เซ็งมากอยากขับแต่ก็กลัวครับ
Title: Re: ++ ว่าด้วยเรื่องของเซ็นเซอร์ ++
Post by: gun on 30 Dec 2011, 20:39
ขอบคุณครับ  ..รออ่านภาคต่อครับ
Title: Re: ++ ว่าด้วยเรื่องของเซ็นเซอร์ ++
Post by: finn-first on 06 Jan 2012, 13:57
THROTTLE CRANK MODE
เมื่อระยะปิดตัวของลิ้นปีกผีเสื้ออยู่ในตำแหน่งเกินกว่า 2 % ต่อ 12.5 msc  มอเตอร์  IAC จะหดตัว (เปิด) เพื่อเพิ่มจำนวนสเต็บความเร็วรอบของเครื่องยนต์ ปริมารอากาศที่ลัดทางผ่านลิ้นปีกผีเสื้อจะเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยลดมลพิษของ HC และ CO ลิ้นปีกผีเสื้อจะปิตตัวลงอย่างรวดเร็ว
Title: Re: ++ ว่าด้วยเรื่องของเซ็นเซอร์ ++
Post by: finn-first on 06 Jan 2012, 13:59
เซ็นเซอร์อุณหภูมิน้ำ ( COOLANT SENSOR, P30 )

เซ็นเซอร์อุณหภูมิน้ำจะเป็นเทอร์มิสเตอร์ ติดอยู่ในระบบหล่อเย็น thermisor จะเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานซึ่งจะเปลี่ยนตามอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็น

ขณะอุณหภูมิต่ำ ค่าความต้านทานจะสูง ( 100,000 kiloohm)
เมืออุณหภูมิน้ำหล่อเย็นสูงขึ้น ค่าความต้านทานของ sensor จะต่ำลง ( 0.185 kiloohm)
ECM (K57) จะจ่ายแรงเคลื่อน 5 v ไปยังเซ็นเซอร์
อุณหภูมิน้ำ(P30) แรงเคลื่อนตกคร่อมเซ็นเซอร์อุณหภูมิน้ำ จาก 0 ถืง 5 v โดยแรงเคลื่อนจะวัดผ่านความต้านทาน R ใน ECM K57 ซึ่งจะลดลงเมื่ออุณหภูมิน้ำหล่อเย็นสูงขึ้น
ดังนั้นถ้าขั้วของ water temp so. ถูกถอด                                                                                                                         มันจะหลอกว่าเครื่องยนต์เย็น และถ้าตัดต่อวงจรผ่าน
Water temp so.  มันจะหลอกว่าเครื่องยนต์ร้อนจัด

Sensor แบ่งเป็น 2 ชนิด
ก่อนปี 1988 เป็น sensor ของ Delco (โค้ดดำ)
หลังปี 1988 เป็น sensor ของ Bosch (โค้ดฟ้า)

ในการวายริ่งสายไฟ จะใช้ตัวแทนเป็นรหัส เช่น
กล่อง ECM คือ K57, COOLANT SO. คือ P30
C10 A11 คือขั้วปลั้กของกล่อง ECM เดี๋ยวจะงงกันน่ะครับ
Title: Re: ++ ว่าด้วยเรื่องของเซ็นเซอร์ ++
Post by: มือใหม่corsa on 06 Jan 2012, 19:35
 8) 8) 8) 8) 8)
Title: Re: ++ ว่าด้วยเรื่องของเซ็นเซอร์ ++
Post by: wat3899 on 06 Jan 2012, 20:35
 8) 8) 8) 8) 8) 8) 8) 8)

 :หึหึ: :หึหึ: :หึหึ: :หึหึ: :หึหึ:

 :ตาปิ้ง: :ตาปิ้ง: :ตาปิ้ง: :ตาปิ้ง:
Title: Re: ++ ว่าด้วยเรื่องของเซ็นเซอร์ ++
Post by: chai3392 on 06 Jan 2012, 21:49
 8) 8) 8)แวะไปหาเจ้าสำนักมาวันนี้ได้ของติดมือกลับมาทำให้ ไอ-เปิ้ลผมมีชีวิตขึ้นมา หลังจากคนหาสาเหตุมานาน สุดท้ายคือกล่องเครื่อง ในที่สุดผมได้ขับก่อนหน้าหมอแล้ว อิ อิ แต่ถ้าหน้าหมอเสร็จแล้ว หากเจอกันอีกขอตามก้นด้วยนะอย่ากดหนีกันเด้อ
Title: Re: ++ ว่าด้วยเรื่องของเซ็นเซอร์ ++
Post by: PrasongKe on 07 Jan 2012, 09:04
ขอบคุณครับ
Title: Re: ++ ว่าด้วยเรื่องของเซ็นเซอร์ ++
Post by: หนานมา on 08 Jan 2012, 17:20
ขอบคุณครับ


สวัสดีปีใหม่ครับ ขอขอบคุณสำหรับช้างสองโขลง

ในวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่มากๆเลยครับ ;) ;)
Title: Re: ++ ว่าด้วยเรื่องของเซ็นเซอร์ ++
Post by: PrasongKe on 09 Jan 2012, 08:31
ขอบคุณครับ


สวัสดีปีใหม่ครับ ขอขอบคุณสำหรับช้างสองโขลง

ในวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่มากๆเลยครับ ;) ;)


ขอบคุณเช่นกันครับ ที่ช่วยทำรถให้ด้วย ไว้วันหน้ามีโอกาส จะเข้าไปขอรบกวนใหม่ครับ เอิ๊ก ...  :drink: :อุ่น:

เซ็นเซอร์ต่อครับน้า :sorry