OPEL in : The Happiest Opel Family in Thailand

Opel in Talks => General Discussion => Topic started by: narong21 on 15 May 2014, 15:30

Title: สอบถามเรื่องระบบจุดระเบิดคอซ่า ครับ
Post by: narong21 on 15 May 2014, 15:30
ไม่ทราบว่าในนรถ คอซ่า เป็นระบบใหน  ในเอาสารต่อไปนีหรือเปล่าครับ  รบกวนด้วยครับ
เครติตเอกสารจากเวป  mte'kmutt ครับ
การจุดระเบิดด้วยประกายไฟ

                ในเครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยประกายไฟ   ประจุไฟฟ้าที่ทำให้เกิดขึ้นระหว่างเขี้ยวหัวเทียน ( Spark  Plug  Electrodes )  โดยระบบจุดระเบิดจะเริ่มกระบวนการเผาไหม้ที่ใกล้กับจุดสิ้นสุดของจังหวะอัด  แกนพลาสมาที่มีอุณหภูมิสูงที่เกิดขึ้นโดยประกายไฟจะพัฒนาไปเป็นเปลวไฟด้านหน้าที่แพร่กระจายออกไปและไม่มอดดับ  ซึ่งก็คือแผ่นปฏิกิริยาบาง  ๆ  ที่ปฏิกิริยาเคมีของการเผาไหม้เกิดขึ้น  ดังนั้นหน้าที่ของระบบจุดระเบิดก็คือทำให้มีการเริ่มต้นของกระบวนการแพร่กระจายของเปลวไฟดังกล่าวในลักษณะซ้ำ  ๆ  กันในแต่ละวัฏจักรตลอดช่วงภาระและอัตราเร็วเครื่องยนต์และให้เกิดขึ้นที่จุดที่เหามะสมในวัฏจักรการทำงานของเครื่องยนต์

หลักการของการจุดระเบิด

                   ประกายไฟจากขั้วไฟฟ้าหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่งนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างทั้งสองขั้วมากเพียงพอ  ในการทำให้เกิดประกายไฟโดยทั่วไปนั้น  ความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างช่องว่างของเขี้ยวหัวเทียน  ( Electrode  Gap )  ถูกทำให้เพิ่มขึ้นจนกระทั่งถึงจุดที่ความต่างศักย์เสียสภาพฉับพลัน  ( Breakdown  Voltage )  ไอออน  ( ของสารผสมที่อยู่ระหว่างหัวเทียน )  ที่เกิดขึ้นก็จะแพร่กระจายจากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่ง  ทำให้ความต้านทานของช่องว่างลดลงอย่างมากและกระแสไฟฟ้าผ่านช่องว่างก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  ซึ่งระยะนี้เรียกว่า  เฟสเสียสภาพฉับพลัน  ( Breakdown  Phase )   แล้วก็จะตามด้วย  เฟสให้ประกายไฟ  ( Arc  Phase )  ที่เฟสให้ประกายไฟนี้พลาสมาทรงกระบอกบาง  ๆ  จะขยายตัวและสารผสมที่ติดไฟได้ก็จะเกิดปฏิกิริยาเคมีที่ให้ความร้อนออกมาและนำไปสู่การขยายตัวของเปลวไฟ  ซึ่งอาจมีเฟสปล่อยประจุแบบรุ่งแสง  ( Glow  Discharge  Phase )  ตามมา  ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของระบบจุดระเบิด

                    พลังงานที่จำเป็นสำหรับการจุดระเบิดสารผสมพอดีที่ไม่มีการเคลื่อนที่ในสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ตามปกติจะมีค่าประมาณ  0.2  mJ   แต่สำหรับสารผสมที่บางหรือหนาและมีการไหลของสารผสมผ่านเขี้ยวหัวเทียน  พลังงานที่จำเป็นอาจมีค่าถึง  3  mJ   ระบบจุดระเบิดที่ใช้กันทั่วไปจะให้พลังงานไฟฟ้า  30  mJ  ถึง   50  mJ  แต่มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่จะถูกถ่ายทอดไปยังสารผสม  ทั้งนี้เพราะมีการสูญเสียพลังงานเนื่องจากการถ่ายเทความร้อนเกิดขึ้นพอสมควร



กราฟ 3.8 แสดงการแปรผันของแรงดันและกระแสไฟฟ้ากับเวลาของ

ระบบจุดระเบิดแบบที่ใช้คอยล์ทั่วไป

ระบบการจุดระเบิดที่ใช้กันทั่วไป

                ระบบการจุดระเบิดที่ใช้กันทั่วไปมี  2  ระบบ  คือ  ระบบจุดระเบิดด้วยแบตเตอรี่  ( Battery  Ignition  System )  และระบบจุดระเบิดด้วยแมกนิโต  ( Magneto  Igniton  System )  สำหรับระบบจุดระเบิดแบบใช้แบตเตอรี่ยังแบ่งออกเป็นหลายระบบ  ที่ใช้กันมากมี   3  แบบ ได้แก่  ระบบจุดระเบิดด้วยคอยล์  ระบบจุดระเบิดด้วยคอยล์ควบคุมด้วยทรานซิสเตอร์  และระบบจุดระเบิดด้วยตัวเก็บประจุ

                1 )  ระบบจุดระเบิดด้วยคอยล์  ( Coil  Ignition  System )  ที่จุดระเบิดด้วยไฟฟ้าแรงดันสูงที่ใต้จากคอยล์  ภาพ 3.9 แสดงระบบจุดระเบิดด้วยคอยล์ที่ใช้ชุดทองขาว  ( Contact  Breaker )  เป็นระบบที่ใช้กับเครื่องยนต์รถยนต์มาเป็นเวลานานแต่ในปัจจุบันค่อย  ๆ  ถูกแทนที่ด้วยระบบที่ทันสมัยกว่า  ระบบนี้ประกอบด้วยวงจรไฟแรงต่ำ  ( Primary  Circuit )  ได้แก่  แบตเตอรี่  สวิตช์กุญแจ  ตัวต้านทาน  ขดลวดไฟแรงต่ำ  ชุดทองขาว  และคอนแดนเซอร์  และวงจรไฟแรงสูง  ได้แก่  ขดลวดไฟแรงสูง  จานจ่าย  ( Ignition  Distributor )  และหัวเทียน  โดยมีการทำงานดังต่อไปนี้

                เมื่อเปิดสวิตช์กุญแจ  ถ้าชุดทองขาวปิด  กระแสก็จะไหลจากแบตเตอรี่ผ่านตัวต้านทานขดลวดไฟแรงต่ำ  ชุดทองขาว  และกลับไปยังแบตเตอรี่ผ่านทางสายไฟที่ต่อลงดิน  ซึ่งกระแสที่ไหลนี้ก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กภายในแกนเหล็กของคอยล์  และเมื่อต้องการประกายไฟในการจุดระเบิด  ชุดทองขาวก็จะเปิดโดยการดันด้วยลูกเบี้ยวในจานจ่ายและไปตัดการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจรแรงต่ำเป็นผลให้ฟลักซ์แม่เหล็กในคอยล์ยุบตัว  ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าทั้งในขดลวดไฟแรงต่ำและขดลวดไฟแรงสูง  โดยแรงดันไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในขดลวดไฟแรงสูงก็จะถูกนำไปยังหัวเทียนเพื่อให้เกิดประกายไฟโดยจานจ่าย


รูปที่ 3.9 ระบบจุดระเบิดด้วยคอยล์ที่ใช้ชุดทองขาว

                    2 )  ระบบจุดระเบิดด้วยคอยล์ควบคุมด้วยทรานซิล  ( Transistorized  Coil  Ignition  System  ,  TCI )  เป็นระบบที่ปรับปรุงจากระบบจุดระเบิดด้วยคอยล์ที่ใช้ชุดทองขาวเดิมโดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อลดการบำรุงรักษาระบบจุดระเบิด  เพิ่มอายุการใช้งานของหัวเทียน  ปรับปรุงการจุดระเบิดสารผสมที่บางและที่ถูกเจือจาง  และเพิ่มความน่าเชื่อถือและอายุการใช้งานของระบบจุดระเบิด  ภาพ 3.9 แสดงระบบจุดระเบิดด้วยคอยล์ควบคุมด้วยทรานซิสเตอร์ซึ่งใช้ระบบกำเนิดพัลส์แม่เหล็ก  ( Magnetic  Pulse )  แทนชุดทองขาวและลูกเบี้ยวในระบบจุดระเบิดด้วยคอยล์  ระบบดังกล่าวจะตรวจจับตำแหน่งของแกนจ่ายและส่งพัลส์ไฟฟ้าไปยังชุดควบคุมอิเล็กทรอนิกส์  แล้วชุดควบคุมนี้ก็จะปิดการไหลของกระแสที่ไปยังขดลวดไฟแรงต่ำ  ทำให้เกิดไฟฟ้าแรงดันสูงในขดลวดไฟแรงสูงและจ่ายไปยังหัวเทียนเช่นเดียวกับระบบที่ใช้ชุดทองขาว

            3)  ระบบจุดระเบิดด้วยตัวเก็บประจุ  ( Capacitive – Discharge  Ignition  System  ,  CDI )  เป็นระบบที่พลังงานไฟฟ้าถูกเก็บอยู่ในตัวเก็บประจุ  ( Capacitor )  และเปลี่ยนไปเป็นไฟฟ้าแรงดันสูงส่งไปยังหัวเทียนโดยใช้หม้อแปลงไฟฟ้าแบบพิเศษ  ภาพแสดงระบบจุดระเบิดด้วยตัวเก็บประจุ  ซึ่งใช้ตัวกำเนิดพัลส์และมีการควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เช่นเดียวกับระบบ  TCI  เพียงแต่เปลี่ยนจากคอยล์เป็นตัวเก็บประจุและหม้อแปลงไฟฟ้าเท่านั้น

 


รูป 3.10 ระบบจุดระเบิดด้วยตัวเก็บประจุ

                    สำหรับระบบจุดระเบิดด้วยแมกนิโตนั้น  แมกนิโต  ( แม่เหล็กหรืออาร์มาเจอร์  (Armature ) ที่หมุน)  จะทำให้เกิดกระแสที่ใช้ทำให้เกิดไฟฟ้าแรงดันสูงเพื่อให้ได้ประกายไฟที่เขี้ยวหัวเทียน  ระบบจุดระเบิดด้วยแมกนิโตนี้มักใช้กับเครื่องยนต์ขนาดเล็กทั้งแบบสี่จังหวะและสองจังหวะ  ภาพด้านล่างแสดงระบบแมกนิโตที่ใช้ชุดทองขาวซึ่งมีแม่เหล็กถาวรติดอยู่กับล้อ  เมื่อหมุนล้อก็จะทำให้เกิดกระแสในขดลวดไฟแรงต่ำ  ( W1 )  และเมื่อชุดทองขาวเปิด  กระแสไฟฟ้าที่ไหลในขดลวดไฟแรงต่ำก็จะถูกตัด  เกิดการยุบตัวของฟลักซ์แม่เหล็กอย่างรวดเร็ว  เป็นผลให้เกิดไฟฟ้าแรงดันสูงในขดลวดไฟแรงสูง  ( W2 )  ที่ต่อไปยังหัวเทียน  ( K )


รูปที่ 3.11 ระบบจุดระเบิดด้วยแมกนิโตที่ใช้ชุดทองขาว

Title: Re: สอบถามเรื่องระบบจุดระเบิดคอซ่า ครับ
Post by: naykatua on 15 May 2014, 22:59
เป็นระบบจุดระเบิดด้วยคอยล์ควบคุมด้วยทรานซิสเตอร์ครับ
Title: Re: สอบถามเรื่องระบบจุดระเบิดคอซ่า ครับ
Post by: หนานมา on 16 May 2014, 10:08
จุดระเบิดด้วยหัวเทียน  ควบคุมด้วยกล่องควบคุม
ตามเงื่อนไขที่เขียนโปรแกรมไว้ครับ  :P